logo plan travel dot com
Shareshare facebooktwitterline

ประวัติประเพณีกินเจ บนเกาะภูเก็ต

การท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เป็นจังหวัดเดียว ที่มี ลักษณะภูมิประเทศเป็นเกาะ และเป็นแหล่ง ท่องเที่ยว ที่มีชื่อเสียง ระดับโลก ซึ่งเป็นที่รู้จัก ในเรื่องของหาดทราย ที่สวยงาม น้ำทะเลใส ท้องทะเล ที่งดงาม เหมาะสำหรับ การดำน้ำ รวมทั้งมี สิ่งอำนวย ความสะดวก รองรับนักท่องเที่ยว อย่างครบครัน

ในอดีตส่วนใหญ่ คนที่มีความเจริญรุ่งเรือง ทางเศรษฐกิจ จะเป็นคนจีน ที่ทำเหมืองแร่ และ พ่อค้าคนกลาง ขายยางพารา ความเจริญ ที่มาจากคนจีน ซึ่งเห็นได้จาก ศาลเจ้าจีน ที่ตั้งอยู่ เรียงราย

ในตัวเมืองภูเก็ต เพื่อฉลองเทศกาล ถือศีล กินผัก ในเดือน ตุลาคมของทุกปี แต่ปัจจุบัน ความรุ่งเรือง ทางเศรษฐกิจ มาจาก อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ที่พัฒนาขึ้น อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเปรียบ ได้กับ จำนวน นักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ที่ค้นพบ ถึงความงดงาม ของ แสงอาทิตย์ และ ทะเลที่ภูเก็ตมีไว้รองรับ และ ยังมีป่าเขา ลำเนาไพร วนอุทยานแห่งชาติ โครงการคืน ชะนีสู่ป่า รวมทั้งการ นั่งช้างชมป่า

ประเพณีกินผัก บนเกาะภูเก็ต

ประเพณีกินเจในภาคใต้ของประเทศไทย ที่มีชื่อเสียงมาก มีจัดอยู่ใน 2 จังหวัด คือ จังหวัดตรัง และ จังหวัดภูเก็ต โดย ชาวภูเก็ต เรียกพิธีกินเจ นี้ว่า “กินผัก หรือ กินเจ” ซึ่งก็คือ อย่างเดียวกันเชื่อกันว่า ประเพณีกินเจ เข้ามาในประเทศไทย พร้อมกับ ชาวจีน แผ่นดินใหญ่ ที่อพยพเข้ามา ตั้งถิ่นฐาน ทำมาหากิน ในภาคใต้ ของไทย จนเมื่อ มีจำนวนมากขึ้น งานประเพณีดังกล่าว ซึ่งทำสืบเนื่องมาจาก ประเทศจีน แผ่นดินใหญ่ จึงกลายเป็นประเพณีสำคัญขึ้น และเป็น ที่นิยมปฏิบัติของคนทั่วไป

ประวัติประเพณีกินเจ มีเรื่องเล่ากันว่า

เมื่อครั้งพุทธกาลพระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ รัตนสถาน แดนสุขาวดี ได้ตรัสตอบ พระโพธิสัตว์มัญชุศรีว่า ดาวพระเคราะห์ ทั้ง 7 มีแสงสว่างรุ่งเรืองในเทวพิภพ พร้อมกับประกายพระโพธิสัตว์อีก 2 องค์ รวมเป็น 9 องค์ คือ

  1. พระวิชัยโลกมนจรพุทธะ ปรากฏเป็น พระอาทิตย์ จีนเรียกว่า ไท้เอี้ยงแซ
  2. พระศรีรัตนโลกประภา โฆษอิศวรพุทธะ ปรากฏเป็น พระจันทร์ จีนเรียกว่า ไท้อิมแซ
  3. พระเวปุลลรัตนโลกสุวรรณพุทธะ ปรากฏเป็น ดาวอังคาร จีนเรียกว่า ฮวยแซ
  4. พระอโศกโลกวิชัยมงคล พุทธะปรากฏเป็น ดาวพุธ จีนเรียกว่า จุ้ยแซ
  5. พระวิสุทธิอาศรมโลกเวปุลลปรัชญา วิภาคพุทธะ ปรากฏเป็น ดาว พฤหัสบดี จีนเรียกว่า บักแซ
  6. พระธรรมมติธรรม สาครจรโลกมโนพุทธะปรากฏเป็น ดาวศุกร์ จีนเรียกว่า กินแซ
  7. พระเวปุลลจันทร์โลก ไภสัชชไวฑูรย์พุทธะปรากฏเป็น ดาวเสาร์ จีนเรียกว่า โท้วแซ

"ทั้ง 7 องค์เป็นพระพุทธเจ้าในอดีต และ มีพระโพธิสัตว์ อีก 2 องค์ คือ พระศรีสุขโลกปัทมครรภอลังการ โพธิสัตว์ ปรากฏเป็น ดาวราหู จีนเรียกว่า ล่อเกาแซ และ พระศรี เวปุลลสังสารโลกสุขอิศวร โพธิสัตว์ ปรากฏเป็นดาวเกตุ จีนเรียกว่า โกยโต้วแซ และ เทพเจ้า ทั้ง 9 องค์ เรียกว่า เก็าอ๊วง หรือ กิ๋วอ๊วง โดยเทพทุกองค์ ถือกำเนิด มาเป็นมนุษย์ ตามวันนั้นๆ"

เทศกาลกินเจ

กำหนดงาน ประเพณีกินเจในภาคใต้ ทั้งของจังหวัดตรัง และ จังหวัดภูเก็ต จัดขึ้นในช่วงเดือน 9 ตามปฏิทินจีน (ประมาณ เดือน กันยายน – ตุลาคม) โดยเริ่ม ตั้งแต่วันขึ้น 1 – 9 ค่ำ ในทุกปี กิจกรรม / พิธี กิจกรรมส่วนใหญ่ เริ่มต้นขึ้นในช่วงเช้า ของวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีน

โดยชาวบ้าน ผู้ศรัทธา จะมาช่วยกัน ทำความสะอาด เช็ดถู ศาลเจ้า หรือ ที่ชาวภูเก็ต เรียกว่า “อ๊าม” จุดไม้จันทน์ กำยาน เพื่อเตรียมรับ การเสด็จ ของเทพเจ้า ทั้ง 9 องค์ คือ “เก็าอิ้วอ๋อง” ส่วนใน ช่วงบ่าย เป็นพิธี ยกเสาลำไผ่ ขนาดใหญ่ซึ่งเรียกว่า “เสาโกเต๊ง” หรือ “เสาเต็งกอ”

สำหรับแขวนตะเกียง 9 ดวง ซึ่งจะเริ่มขึ้น ตามฤกษ์ยาม คือ ตอน เที่ยงคืน มีการประกอบพิธี อัญเชิญ ยกอ๋องฮ่องเต้ ซึ่งเป็นเทพเจ้า องค์ประธาน ขึ้นที่ศาลเจ้า และ อัญเชิญเทพทั้งเก้ามาเป็น เทพ ประจำพิธี พร้อมกับ จุดตะเกียงน้ำมัน เก้าดวง ชักแขวนไว้ ปลายเสา โกเต๊ง ให้เป็น สัญลักษณ์ แห่งดวงวิญญาณ อันศักดิ์สิทธิ์สถิตไว้ ตลอดเทศกาลกินเจ

ตลอด 9 วัน 9 คืน ของงานเทศกาล ผู้ศรัทธาจะสละกิจโลกียวัตร บำเพ็ญสมาธิ ถือมังสวิรัติบริโภค แต่ผักผลไม้ งดบริโภค เนื้อสัตว์ ทุกชนิด รวมทั้งผักประเภทหอม กระเทียม และผักซึ่งมีกลิ่นฉุน บางชนิด หลังจากที่อัญเชิญเทพทั้ง 9 องค์เข้าประทับ ในศาลเจ้า แล้ว ก็มีพิธีสวดมนต์ ทุกวัน วันละ 3 ครั้ง

ตลอดเทศกาล รวมทั้ง มีการอ่าน รายชื่อ ผู้เข้าร่วมกินเจ ต่อหน้าแท่นบูชา และ ทุกคืน ก็มีพิธี เดินธูปโดยการ นำของ “ร่างทรง หรือ ม้าทรง” ซึ่งร่างทรง หรือ ม้าทรงดังกล่าว ต้องได้รับความเห็นชอบ จากเทพเจ้ามา ประทับร่างทรง และ กระทำทุกอย่างในพิธีโดย ผ่านร่างทรง หรือ ม้าทรง

ซึ่งบุคคลผู้จะเป็นม้าทรง หรือ ร่างทรง ได้ต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ และ เหมาะสม โดยร่างทรงดังกล่าว จะแสดงบุคลิกลักษณะ ของเทพ เจ้าองค์นั้นๆ เช่น ไถเซี้ย เห้งเจีย หรือ เจ้าแม่กวนอิม เป็นต้น และ ถืออาวุธ ประจำองค์เทพเจ้าแตกต่างกันออกไป โดยขณะประทับ ร่างทรง ก็แสดง อิทธิฤทธิ์ต่างๆ

เช่น ใช้ดาบหรือ ขวานฟันหลัง เป็นแผลไม่ลึกนัก ใช้ลูกตุ้มเหล็ก เหวี่ยง ให้ถูกร่างกาย ใช้มีด หรือ ดาบตัดลิ้น ให้เลือดไหล แล้ว เขียนกระดาษ หรือ

เรียกว่า ”ฮู้” โดยร่างทรงไม่แสดงอาการ เจ็บปวด เหมือนว่า เทพเจาเหล่านั้น รับความเจ็บปวดแทนร่างทรง กล่าวกันว่า หลังจากการตัดลิ้น ไม่นาน ก็สามารถต่อลิ้น ให้ติดได้ดังเดิม

คืนวันขึ้น 3 ค่ำ มีพิธีล้างเกี้ยว ขจัดสิ่ง อัปมงคล วันต่อมา จึงเป็น พิธีเบิกศาสตราวุธ ทดสอบก่อนเข้าสู่พิธี ในวันรุ่งขึ้น อันตรง กับ วันขึ้น 6 ค่ำ ซึ่งมักเป็นวันที่เทพเจา ประสงค์ออกโปรดสัตว์ กรรมการ ศาลเจ้า จะประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ว่าจะออก ไปวัดใด และ ไปที่ไหน

ซึ่งส่วนใหญ่เป็น ช่วงเช้า ศาลเจ้าใดมี ม้าทรง หรือ ร่างทรงมาก ขบวนแห่ก็จะยาว มีเทพเจ้าเป็นร้อยๆ องค์ ขบวนประกอบ ด้วยธงทิว รถนำ รถตาม ขบวนเกี้ยวเล็ก เกี้ยวใหญ่ ขบวน โหลก๊อฉ่า ได้แก่ ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ ไท้ โล่ และ กลอง เป็นกลุ่มๆ ละ 5 คน สลับกับเกี้ยวเป็นตอนๆ ซึ่งอาจทำให้ ขบวน ยาวเป็นกิโลเมตร

ก่อนเคลื่อนขบวนเทพเจ้า จะเข้าร่าง ประทับทรง แต่งองค์ทรง เครื่องครบถ้วน ถืออาวุธครบมือพร้อม พี่เลี้ยงหรือ ผู้ติดตาม องค์ละอย่างน้อย 1 คน ในขบวนมีเกี้ยวอัญเชิญหุ่นพระจีน ซึ่งมี คนหามเกี้ยว ขนาดเล็ก อย่างน้อย เกี้ยวละ 4 คน ส่วน เกี้ยวใหญ่ มีคนหามไม่น้อยกว่า 10 คน ผู้หามเกี้ยวจะเอา ผ้าโพกหัวเอา สำลีอุดหู ไว้กันเสียงประทัด

ตลอดเส้นทางเดินโปรดสัตว์ ซึ่งมีระยะทาง ไม่ต่ำกว่า 5 กิโลเมตร โดยใช้เวลา เดินประมาณ 2-3 ชั่วโมง เป็นอย่างน้อย ตลอดทาง จะมีผู้ศรัทธาตั้งโต๊ะหมู่บูชา โดยจัดผลไม้ ขนม น้ำชา ไว้ถวาย เมื่อเทพเจ้า ในร่างม้าทรง เดินผ่านจะเข้าไป รับของถวาย เทพเจ้า รับแล้วส่งต่อให้ผู้อื่น หรือ ใครก็ตาม ผู้ที่ศรัทธาเชื่อว่า เป็นสิ่ง อันเป็นมงคลยิ่ง ควรแก่การปิติยินดีใน เทศกาลกินเจ การแสดง ออกอย่างหนึ่ง ของผู้ศรัทธา คือ การจุดประทัด เป็นชุดยาว เป็นแพ โดยหย่อนให้ประทัดระเบิดบนเกี้ยว

ในการออกโปรดสัตว์ ของเทพองค์ต่างๆ ยังมีการแสดงอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ของม้าทรง กับอาวุธประจำกาย เช่น เอาเข็มแทง ทะลุปาก เอามีดฟันตามร่างกาย เป็นต้น

แต่สิ่งที่เป็นจุดสนใจ ของผู้ร่วมงานมากที่สุด คือ การไต่บันไดมีด และ การลุยไฟ การลุยไฟนั้น นอกจาก ร่างทรงเทพแล้ว ผู้ที่กินเจ ถึงขึ้น “เช้ง” สามารถเดินลุยไฟได้ ถือว่าเป็นการเผาผลาญสิ่งไม่ดี ออกจาก ร่างกาย และ จะไม่มีแผลพุพองใดๆ

ในวันสุดท้าย ของการกินเจ ทางศาลเจ้า จะจัดพิธี “โก๊ยห่าน” อันเป็นพิธีสะเดาะเคราะห์ ให้กับผู้ศรัทธา โดยผู้ที่ไม่กินเจ ก็สามารถ เข้าร่วมพิธีนี้ได้ และ ทางศาลเจ้าอาจจัด เป็นเอกเทศ จากการกินเจได้ นอกจากนี้ก็มี การปล่อยปลา ปล่อยนก ทำบุญ ตักบาตร และ สุดท้ายเป็นการส่งพระกลับ สู่สรวงสวรรค์ แต่ก่อน การส่งพระกลับ ที่ศาลเจ้าจะทำ พิธีซงเก๊ง คือ การสวดมนต์ อ่านรายชื่อ ผู้ศรัทธา และ ร่วมกินเจ รวบรวมธูปเผาพร้อม

กระดาษทอง ในวันทำพิธีส่ง กิ๋วอ๋องไต่เต่ วันส่งพระช่วงกลางคืน มีขบวนแห่ ผ่านไป ทางไหน ตลอดทางมีโต๊ะเครื่องถวายเทพเจ้า เมื่อพระจีนในร่างทรงผ่านไปถึง จะจุดประทัด ถวายมากน้อย ตามกำลังเงิน วันที่ 10 ของ เทศกาล เป็นพิธีลดเสาโกเต๊ง คานไม้ไผ่ที่ ยกไว้ปลายเสา ตั้งแต่วันแรกของ เทศกาล ผู้ศรัทธา จะได้รับวัตถุมงคล และ อัญเชิญ หุ่นพระจีนที่นำประดิษฐาน ในศาลเจ้ากลับ คืนเคหสถาน

ประเพณีการกินเจตลอด 9 วัน 9 คืน นั้น แสดงออกถึงศรัทธาของ ประชาชนผู้ร่วมงาน และ เป็นการแสดงถึง ความมีจิตเมตตา ของผู้ร่วมประเพณีกินเจ