จะทำหนังสือเดินทาง (Passport) ครั้งแรก หรือ ทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ ต้องใช้เอกสารอะไร และ ไปทำที่ไหน เรามีคำตอบ ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จัก หนังสือเดินทาง หรือ พาสปอร์ต กันก่อน หนังสือเดินทาง เป็นเอกสารราชการ ที่บุคคลสัญชาติไทย ใช้ในการเดินทาง ในต่างประเทศ หนังสือเดินทางมี 4 ประเภท คือ
สถานที่ให้บริการทำหนังสือเดินทางการลงทะเบียนทำ Passport ล่วงหน้า
- หนังสือเดินทางทูต (ปกสีแดงสด) มีอายุไม่เกิน 5 ปี ไม่สามารถต่ออายุเพิ่มได้ มีข้อกำหนดออกให้เฉพาะบุคคล
- หนังสือเดินทางราชการ (ปกน้ำเงินเข้ม) มีอายุไม่เกิน 5 ปี ผู้ถือต้องใช้ในราชการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัว
- หนังสือเดินทางบุคคลทั่วไป (ปกสีแดงเลือดหมู) ออกให้สำหรับประชาชนทั่วไป หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี
- หนังสือเดินทางชั่วคราว (ปกเขียว) เช่น หนังสือเดินทางพระ ออกให้สำหรับพระภิกษุและ สามเณรที่ได้รับอนุญาต ให้เดินทางไปต่างประเทศ ตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคม หรือ หนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ ออกให้ชาวมุสลิมที่เพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุ 1 ถึง 2 ปีเท่านั้น เป็นต้น
สำหรับหนังสือเดินทางบุคคลทั่วไป จะออกให้กับบุคคลสัญชาติไทยเท่านั้น ซึ่งมีอายุไม่เกิน 5 ปี และไม่สามารถต่ออายุได้อีก (เมื่อหมดอายุต้องทำเล่มใหม่) การทำหนังสือเดินทางบุคคลทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 กรณี ได้แก่
- บุคคลบรรลุนิติภาวะ อายุตั้งแต่ 20 ปีบริบูรณ์ เอกสารที่ใช้มีดังต่อไปนี้
- บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือ บัตรข้าราชการ หรือ บัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับจริง (ในกรณีที่เป็นบัตรข้าราชการให้นำสำเนาทะเบียนบ้านมาด้วย)
- ในกรณีเปลี่ยนชื่อ-สกุล หรือวันเดือนปีเกิด หรือข้อมูลอื่นใดที่ไม่ตรงกับบัตรประชาชน ต้องนำหลักฐานตัวจริงมาแสดงด้วย
- ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท (มีอายุ 5 ปี)
- ค่าธรรมเนียม 1,500 บาท (มีอายุ 10 ปี)
- ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ เอกสารที่ต้องเตรียมมีดังต่อไปนี้
- บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของผู้เยาว์ที่ยังมีอายุใช้งาน
- สูติบัตรฉบับจริง (กรณีผู้เยาว์อายุยังไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์)
- บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของบิดาและมารดา หรือผู้มีอำนาจปกครอง (หากบิดาหรือมารดาเป็นชาวต่างชาติ ให้ใช้หนังสือเดินทางฉบับจริงของบิดาหรือมารดา แล้วแต่กรณี)
- บิดาและมารดา หรือผู้มีอำนาจปกครอง จะต้องมาแสดงตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่ด้วย (กรณีบิดาและมารดา หรือผู้มีอำนาจปกครอง ไม่สามารถมาแสดงตัวได้ จะต้องนำ หนังสือยินยอมของบิดาหรือมารดา หรือผู้มีอำนาจปกครอง ที่รับรองจากเขตหรืออำเภอ ที่ระบุการอนุญาตให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ มาด้วย)
- เอกสารอื่นๆ ที่จำเป็น อาทิ ใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรองบุตรหรือรับบุตรบุญธรรม ใบสำคัญการสมรส ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนบ้าน คำสั่งศาลกรณีระบุผู้มีอำนาจปกครองแทนบิดามารดา เป็นต้น
- ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
- หนังสือเดินทางทั่วไป ที่ออกให้แก่พระภิกษุ สามเณร เอกสารที่ต้องใช้มีดังต่อไปนี้
- ใบสุทธิพระภิกษุสามเณร
- สำเนาทะเบียนบ้าน/วัด
- สําเนาใบตราตั้ง กรณีประสงค์ให้ระบุสมณศักดิ์ในหนังสือเดินทาง
- เอกสารแสดงการได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศ ตามระเบียบมหาเถรสมาคม พ.ศ. 2537
- ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
ขั้นตอนการยื่นขอหนังสือเดินทาง
- รับบัตรคิว
- ยื่นบัตรประจำตัวประชาชน (หรือสูติบัตร กรณีผู้เยาว์อายุยังไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์) พร้อมเอกสารหลักฐานอื่นๆ ที่จำเป็น เช่น หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล ทะเบียนสมรส ฯลฯ
- วัดส่วนสูง เก็บลายพิมพ์นิ้วมือนิ้วชี้ซ้ายและนิ้วชี้ขวาด้วยเครื่องสแกนเนอร์ และถ่ายรูปใบหน้า
- แจ้งความประสงค์ ในการขอรับเล่ม เช่น รับด้วยตัวเอง หรือ มอบหมายให้ผู้อื่นมารับแทน หรือ ให้จัดส่งทางไปรษณีย์
- ชำระค่าธรรมเนียม 1,00 บาท (และค่าส่งไปรษณีย์ 40 บาท หากต้องการให้จัดส่งทางไปรษณีย์) รับใบเสร็จรับเงิน และรับใบนัดรับเล่ม
เราจะได้รับหนังสือเดินทางเมื่อไหร่
- กรณีรับด้วยตัวเอง หรือ มอบหมายให้ผู้อื่นมารับแทน จะรับหนังสือเดินทางได้ภายใน 2 วันทำการ ไม่นับวันที่ยื่นคำร้อง (เฉพาะผู้ที่ยื่นคำร้องที่กรุงเทพฯ)
- กรณีให้จัดส่งทางไปรษณีย์ EMS จะได้รับหนังสือเดินทาง ภายใน 5-7 วัน (สำหรับผู้ที่ยื่นคำร้องที่ต่างจังหวัด และผู้ที่ยื่นคำร้องที่กรุงเทพฯ)
หนังสือเดินทาง อายุ 10 ปี เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2021
เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้บรรลุนิติภาวะ (20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป) ที่เดินทางต่างประเทศเป็นประจำ และมีวีซ่าระยะยาว
พาสปอร์ต (Passport) ไม่ใช่ วีซ่า (Visa)
- พาสปอร์ต เป็นเอกสารที่ออกให้โดยรัฐฯ เพื่อแสดงตนในการเดินทางออกนอกประเทศ
- วีซ่า เป็นเอกสารที่ออกให้โดยประเทศที่คุณเดินทางเข้าไป เพื่อเป็นบัตรผ่านเข้าประเทศนั้น
การถ่ายรูปทำหนังสือเดินทางนั้น จะต้องเห็นองค์ประกอบของใบหน้าครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น คิ้ว, ตา, จมูก หรือแม้กระทั่งคนใส่แว่นตา ก็ต้องใส่แว่นสายตาจริงๆ ไม่ใช่แว่นกันแดด โดยให้เห็นใบหน้าทั้ง 80-90% ของใบหน้า เพื่อเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบบุคคลเพื่อการเข้าเมือง
คำเตือนการใช้หนังสือเดินทาง
- ห้ามขีด เขียน แก้ไข ประทับตรา ที่ไม่เกี่ยวข้องกับ ต.ม หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลภายในเล่มหนังสือเดินทาง
- ห้ามแกะ ตัด เย็บ เจาะรู หรือกระทำใด ๆ ที่อาจทำให้ปกหนังสือเดินทางได้รับความเสียหาย
- ห้ามตัด งอ บิด หรือกระทำใด ๆ ที่อาจทำให้หนังสือเดินทางยับย่น หรือ เปลี่ยนรูปไปจากเดิม เช่น เปียกน้ำจนเสียหาย หรือ รูป เลือนลาง ทำให้ใช้ในการเดินทางไม่ได้
- ไม่ควรเก็บหนังสือเดินทางไว้ในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก หรือสนามไฟฟ้าสูง และบริเวณที่มีคลื่นความถี่วิทยุ เช่นโทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ หรือไมโครเวฟ
- หลีกเลี่ยงการวางวัตถุสิ่งของที่มีน้ำหนักมากบนหนังสือเดินทาง
- ควรเก็บหนังสือเดินทางไว้ในห้องที่แห้ง อากาศเย็น ไม่อับชื้น
- หลีกเลี่ยงการนำหนังสือเดินทางเข้าใกล้วัตถุที่มีความร้อน ซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่า 50 องศาเซลเซียส สถานที่มีแสงแดดส่องถึงได้เป็นเวลานาน สถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เปียกแฉะ สัมผัสน้ำ หรือสถานที่ใกล้สารเคมีต่าง ๆ รวมทั้งสถานที่ที่มีฝุ่นละออง
วัคซีนพาสปอร์ต เพื่อเดินทางข้ามประเทศ เป็นหนังสือรับรองว่าเราได้รับการฉีดวัคซีนครบแล้ว
เอกสารยื่นขอวัคซีนพาสปอร์ต
- ใบรับรองการฉีดวัคซีน ออกให้โดยสำนักงานอนามัย และสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เมื่อฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม
- หนังสือการเดินทาง (Passport) และ บัตรประชาชน (ตัวจริง) และ หลักฐานการเดินทาง เช่น ตั๋วเครื่องบิน
- ค่าเอกสาร 50 บาท
กรณีให้ผู้รับมอบอำนาจดำเนินการแทนต้องใช้เอกสารเพิ่มเติมอีก 2 รายการ คือ หนังสือมอบอำนาจฉบับจริง (ผู้มอบอำนาจ 1 คนต่อ 1 ฉบับ) และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ตัวจริงและสำเนา)
ขอหนังสือรับรองฯ ได้ที่ 4 หน่วยงาน ในสังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้แก่
- สถาบันบำราศนราดูร จังหวัดนนทบุรี Tel: 02-951-1170 ถึง 79 ต่อ 3430
- สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) กรุงเทพฯ โทร 02-521-1668
- ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ Tel: 02-134-0134
- กองโรคติดต่อทั่วไป อาคาร 5 ชั้น 6 กรมควบคุมโรค จังหวัดนนทบุรี Tel: 02-590-3232, 02-590-3234 ถึง 35
- ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชั่น หมอพร้อม เลือก International Certificate เลือกขอหนังสือรับรองเพื่อการเดินทางระหว่างประเทศ
สายด่วนกรมควบคุมโรค Tel:1422
การลงทะเบียนทำ Passport ล่วงหน้า โดยคุณสามารถเลือกวันเวลา และสาขาที่จะเข้าไปทำพาสปอร์ตได้ โดยเข้าไปลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่นี่ www.qpassport.in.th
เงื่อนไขการลงทะเบียนล่วงหน้า
- การลงทะเบียนล่วงหน้าใช้สำหรับ การยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางธรรมดาเท่านั้น
- สมัครสมาชิก 1 บัญชี ต่อ 1 ท่าน ต่อ 1 รายการจอง
สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ 1 วันทำการ (ไม่นับวันที่ทำรายการ วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) และทำรายการล่วงหน้าได้ไม่เกิน 5 วันทำการ - ท่านต้องมารายงานตัวและแสดง QR Code ต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ท่านลงทะเบียนขอรับบริการไว้อย่างน้อย 30 นาที ก่อนเวลาขอรับบริการ มิฉะนั้นการลงทะเบียนของท่านจะถูกยกเลิก
- กรณีที่การลงทะเบียนถูกยกเลิกตามเงื่อนไขข้อที่ 3 ท่านจะไม่สามารถใช้บริการลงทะเบียนล่วงหน้าได้อีกภายใน 30 วัน
- ข้อมูลที่กรอกต้องเป็นข้อมูลปัจจุบันของตนเอง และ เป็นข้อมูลจริงเท่านั้น
- ท่านต้องเตรียมเอกสาร – หลักฐานให้ครบถ้วนตามที่กำหนด กรณีที่เอกสาร – หลักฐานไม่ครบถ้วน ทางกองหนังสือเดินทาง ขอสงวนสิทธิในการปฏิเสธการยื่นคำร้องหนังสือเดินทางของท่าน
- เงื่อนไขในการออกหนังสือเดินทาง เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2)
คำเตือน: ควรงดใส่ Contact lens แบบสีๆมา เพราะจะมีผลต่อการ สแกนม่านตา