เมื่อจะยื่นขอวีซ่าไปต่างประเทศ เอกสารที่ต้องใช้ประกอบ การยื่นขอวีซ่า ทำไมต้องแปลเอกสารภาษาไทยต่างๆ ให้เป็น ภาษาอังกฤษด้วย คำตอบคือ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล ที่ใช้ทั่วโลก

ดังนั้นทุกประเทศจึงเข้าใจความหมายได้ แต่จะมีบางเอกสารที่เป็นภาษาอังกฤษอยู่แล้ว เช่น บัตรประชาชน เป็นต้น หรือบางประเทศ อนุญาตให้ใช้เอกสารภาษาไทยได้ การแปลเอกสารให้เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด จึงไม่จำเป็น

การที่เราต้องแปลเอกสารราชการต่างๆ หรือเอกสารอื่นๆ ให้เป็นภาษาอังกฤษ ก่อนที่จะนำไปใช้ประกอบการยื่นขอวีซ่า ก็เพราะ ข้อมูลในเอกสารเหล่านั้น จะช่วยยืนยันหรือเสริมข้อมูล หรือ แสดงข้อเท็จจริงต่างๆ ให้สมเหตุสมผล หรือ เพื่อที่จะใช้เป็นข้อมูลในการสนับสนุนคุณสมบัติ ในการสมัครวีซ่าของเรา

เวลาที่ยื่นขอวีซ่า เราจะต้องแนบเอกสารแปลภาษาอังกฤษ คู่กับเอกสารภาษาไทย เสมอ

ตัวอย่างเอกสารประกอบ เช่น สูติบัตรหรือใบเกิด, มรณบัตร, ทะเบียนบ้าน, ทะเบียนสมรส/หย่า, ใบเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล, หนังสือจดทะเบียนธุรกิจ/พาณิชย์, โฉนดที่ดิน, ใบขึ้นทะเบียนเกษตรกร บัตรข้าราชการบำนาญ เป็นต้น และถ้าทางสถานทูตไม่อนุญาตให้ใช้เอกสารภาษาไทยเพียงอย่างเดียว เราจึงจำเป็นต้องแปลเอกสารภาษาไทยดังกล่าวให้เป็นภาษาอังกฤษ แล้วแนบคู่ไปกับเอกสารภาษาไทยเมื่อเราไปยื่นขอวีซ่า

การแปลเอกสารเพื่อใช้ประกอบการยื่นขอวีซ่าเชงเก้นระยะสั้น ไม่จำเป็นต้องรับรองการแปลโดยกระทรวงต่างประเทศ ดังนั้นทางบริษัทฯ จึงสามารถแปลและรับรองการแปลให้ท่านได้

สนใจแปลเอกสาร โปรดติดต่อเราได้ที่ [email protected] หรือ โทร. 02-417-2199

ค่าบริการแปลเอกสาร เริ่มต้นที่ 300 บาท อัตราค่าแปลเอกสารถูกหรือแพง จะขึ้นอยู่กับความยากง่ายของเอกสาร

ทั้งนี้ถ้าคุณลูกค้าใช้บริการยื่นวีซ่ากับทางบริษัทฯ ก็อาจจะไม่ต้องเสียค่าแปลเอกสาร หรือชำระค่าแปลเอกสารในราคาพิเศษ

ข่าวดี ขณะนี้ทางกรมการปกครอง ได้ให้บริการคัดรับรอง เอกสารการทะเบียนภาษาอังกฤษ จำนวน 30 ประเภทเอกสาร ได้แก่

  1. รายการทะเบียนคนเกิด/สูติบัตร (ทร.1)
  2. รายการทะเบียนคนตาย/มรณบัตร (ทร.4)
  3. รายการทะเบียนบ้าน (ทร.14)
  4. รายการรับรองการเกิด (ทร.1/1)
  5. รายการข้อมูลเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
  6. รายการทะเบียนสมรส (คร.3)
  7. รายการทะเบียนหย่า (คร.7)
  8. รายการทะเบียนบันทึกฐานะแห่งครอบครัว (คร.22)
  9. รายการทะเบียนการเปลี่ยนชื่อตัว (ช.3)
  10. รายการทะเบียนการตั้งชื่อสกุล (ช.2)
  11. รายการทะเบียนการร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.4)
  12. รายการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5)
  13. ทะเบียนรับรองบุตร (คร.11)
  14. ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม (คร.14)
  15. ทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม (คร.17)
  16. หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.6)
  17. ทะเบียนอนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.6/1)
  18. หนังสือรับรองเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.7)
  19. ทะเบียนรับรองเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.7/1)
  20. หนังสือรับรองการขอเปลี่ยนชื่อตัวของคนต่างด้าว (ช.8)
  21. ทะเบียนรับรองการขอเปลี่ยนชื่อตัวของคนต่างด้าว (ช.8/1)
  22. หนังสือรับรองการขอจดทะเบียนชื่อสกุลของคนต่างด้าว (ช.9)
  23. ทะเบียนรับรองการขอจดทะเบียนชื่อสกุลของคนต่างด้าว (ช.9/1)
  24. แบบรับรองข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร จากฐานข้อมูลการทะเบียน ของสำนักทะเบียนกลาง
  25. แบบรับรองรายการทะเบียนประวัติบุคคล ที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน
  26. แบบรับรองรายการทะเบียนประวัติคนต่างด้าว ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
  27. แบบรับรองข้อมูลเกี่ยวกับบัตรประจำตัว คนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย /บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ที่คัดรับรองรายการ จากฐานข้อมูลทะเบียน บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย /บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน (บัตรคนต่างด้าว)
  28. หนังสือรับรองการใช้อำนาจปกครองบุตร
  29. หนังสือรับรองการใช้คำนำหน้านามหญิง
  30. หนังสือรับรองสถานภาพสมรส

ค่าธรรมเนียม การคัดรับรองเอกสาร การทะเบียนภาษาอังกฤษ ราคาฉบับละ 10 บาท

แต่ทั้งนี้ เอกสารที่จะไปคัดรับรองเป็นภาษาอังกฤษได้ จะต้องเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน ถ้าเอกสารหรือข้อมูลนั้นๆ เกิดขึ้นก่อน ปี พ.ศ. 2540 ไม่สามารถคัดรับรองเป็นภาษาอังกฤษได้ ต้องนำเอกสารภาษาไทย ไปแปลเป็นภาษาอังกฤษเอง

ประโยชน์และจุดประสงค์ของเอกสารการทะเบียนภาษาอังกฤษ

เนื่องจากการติดต่อสื่อสารและดำเนินธุรกรรมข้ามประเทศที่เพิ่มมากขึ้น ทางกรมการปกครองและกรมการกงสุล จึงร่วมกันจัดทำแบบฟอร์มเอกสารภาษาอังกฤษ เพื่อจะช่วยเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนดังนี้

  1. การลดภาระค่าใช้จ่ายในการแปลเอกสาร
  2. ลดขั้นตอนและกระบวนการรับรองเอกสาร (ไม่ต้องรับรองการแปล)
  3. เอกสารที่ผ่านการรับรอง มีมาตรฐานการแปล ที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงาน และมีมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ สามารถนำไปใช้ต่างประเทศได้อย่างสมบูรณ์และเป็นที่ยอมรับ

จุดประสงค์ส่วนใหญ่ของผู้ที่ต้องการ เอกสารทะเบียนภาษาอังกฤษ คือ เพื่อนำเอกสารนั้นไปใช้ทำธุรกรรมในต่างประเทศ เช่น เรียนต่อต่างประเทศ ทำงานในต่างประเทศ การจดทะเบียนสมรส/หย่าในต่างประเทศ หรือการขอถิ่นพำนักในต่างประเทศ (ขอใบ PR) เป็นต้น

การนำเอกสารไปใช้ในต่างประเทศ

เราจะต้องนำเอกสารการทะเบียนภาษาอังกฤษนั้น ไปขอรับรองนิติกรณ์ที่กองสัญชาติและนิติกรณ์กรมการกงสุลก่อน จากนั้นนำไปติดต่อสถานทูตประเทศที่เราจะนำไปใช้ เมื่อได้รับการรับรอง ทั้งจากกรมการกงสุลและสถานทูตในไทยแล้ว เราจึงจะนำเอกสารฉบับดังกล่าวไปใช้ในต่างประเทศได้

ผู้ที่ต้องการคัดรับรองเอกสารการทะเบียนภาษาอังกฤษ ใช้เพียงแค่บัตรประจำตัวประชาชน แบบ smart card ไปขอคัดได้เลย ณ สำนักงานเขตหรืออำเภอ ตามทะเบียนบ้านที่มีชื่ออยู่

งานแปลเอกสารยื่นวีซ่า

FacebookTwitterLine