รถโดยสารรับจ้างไม่ประจำทาง หรือ รถทัศนาจร เป็นบริการหนึ่ง ที่นักท่องเที่ยวนิยมเลือกใช้ ในการเดินทาง ไปท่องเที่ยว ตามสถานที่ต่างๆ เนื่องจากเป็นบริการ ที่สะดวก รวดเร็ว และ ราคาค่าโดยสาร ไม่แพงจนเกินไป เมื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายเป็นรายคน

ข้อดีประการสำคัญของรถทัศนาจร คือ ผู้โดยสารสามารถ ร่วมทำกิจกรรมสนุกสนาน ไปด้วยกันบนรถได้ โดยไม่เป็นอุปสรรค ต่อการดำเนินรายการท่องเที่ยว เพราะรถสามารถ เข้าถึงสถานที่ ท่องเที่ยว หรือ แวะตามจุดต่างๆ ได้ตามที่ต้องการ ต่างจาก รถโดยสาร ประจำทาง ที่ต้องออกรถตามเวลา และ ต้องหยุดรถ ตามจุดหยุดรถที่กำหนดไว้ เท่านั้น

รถโดยสารรับจ้าง ไม่ประจำทาง (รถทัศนาจร) มีอยู่ 2 ขนาด ให้เลือกใช้ตามปริมาณ ของผู้โดยสาร ได้แก่

  1. รถตู้โดยสารไม่ประจำทางเป็น รถตู้โดยสารขนาดกลาง จุผู้โดยสารได้ไม่เกิน 20 ที่นั่ง(มาตรฐาน 2 จ) มักใช้สำหรับ ท่องเที่ยวภายในครอบครัวหรือ ที่ทำงาน ที่มีจำนวนไม่มากนัก
  2. รถบัสทัศนาจร (รถโดยสารไม่ประจำทาง มาตรฐาน1-4) เป็นรถโดยสาร ขนาดใหญ่ มีที่นั่งตั้งแต่ 21 ที่นั่ง จนถึง 40 ที่นั่งขึ้นไปก็มี (ตามมาตรฐานของรถ) นิยมใช้ในกลุ่มผู้โดยสารขนาดใหญ่ เช่น นำพนักงานบริษัทไปท่องเที่ยว หรือนำคนไปร่วมงานทอดกฐิน หรือทอดผ้าป่าในต่างจังหวัด เป็นต้นไป

การเลือกใช้บริการรถเช่าทัศนาจร ควรพิจารณา ดังนี้

ภาพลักษณ์หรือชื่อเสียงของ บริษัทท่องเที่ยว ควรตรวจสอบ การให้บริการของผู้รับจ้างก่อน โดยอาจตรวจสอบ ข้อมูลย้อนหลังจนถึงปัจจุบัน จากสื่อมวลชนหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการขนส่งทางบก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ จากเพื่อนฝูงที่มีประสบการณ์ตรง โดยพิจารณาให้รอบด้าน เช่น สถิติอุบัติเหตุ คุณภาพ ของการให้บริการ การให้ข้อมูลที่ชัดเจน การประสานงานและ อำนวยความสะดวกที่ดี ดูว่ารถเช่ามีการทำประกันภัย ประเภทอื่น ๆ ให้กับผู้โดยสาร นอกเหนือ จาก พ.ร.บ. คุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถหรือไม่ เป็นต้น

รถตู้

ตัวรถต้องถูกกฎหมายและ มีสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งาน ควรจะได้เห็นตัวรถก่อนที่จะเช่า หรือว่าจ้าง และถ้าเป็นไปได้ให้ขอทะเบียนรถ คันนั้น เพื่อนำไปตรวจสอบกับ กรมการขนส่งทางบกก่อน จะได้ทราบในเบื้องต้นว่า รถคันนั้นจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย หรือไม่ ขาดต่อภาษีรถประจำปีหรือไม่ ถ้าหากขาดต่อภาษีรถประจำปีก็แสดงว่า รถคันนั้นไม่ผ่านการตรวจสภาพรถ ก่อนต่อภาษี (กรมการขนส่งทางบก กำหนดให้รถโดยสารไม่ประจำทาง ทั้งที่เป็นรถตู้หรือรถบัส ต้องตรวจสภาพปีละ 2 ครั้ง)

คุณสมบัติของคนขับรถ ก่อนที่จะทำการว่าจ้าง ท่านควรขอตรวจสอบ ใบอนุญาตขับรถของคนขับ ให้ดูว่าเป็นใบอนุญาตขับรถประเภทไหน ถ้าขับรถบัสไม่ว่าจะเป็นรถบัสชั้นเดี่ยว หรือ 2 ชั้น ที่สามารถจุคนตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป ต้องเป็นใบอนุญาตขับรถประเภทที่ 2,3 และ 4 เท่านั้น ส่วนในกรณี ของรถตู้ คนขับสามารถ มีใบอนุญาตขับรถ ได้ตั้งแต่ประเภทที่ 1 ถึง 4

รถบัส

แผนการเดินทางท่องเที่ยวต้อง ไม่แน่นจนเกินไป ในกรณีที่เดินทางไปกับบริษัททัวร์ที่จัด ท่องเที่ยว ต้องดูว่าแผนการ เดินทางท่องเที่ยว ที่จัดไว้ในแต่ละ สถานที่นั้น เหมาะสมกับระยะทาง และ ระยะเวลาที่วิ่งรถหรือไม่ เดินทางกลางวัน หรือกลางคืน การเดินทางในเวลากลางวัน จะปลอดภัยกว่าเวลากลางคืน มีการกำหนด สถานที่และระยะเวลาให้คนขับ ได้หยุดพักรถและผ่อนคลายอิริยาบถ มากน้อยเพียงใด

หากใช้ระยะเวลาขับรถเกิน 4 ชั่วโมง ควรหยุดพักอย่างน้อย 30 นาที ซึ่งเป็นไปตาม ข้อกำหนดของกฎหมาย

(พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 103 ทวิ) ในกรณีที่เดินทางไกล ต้องขับรถติดต่อกันเกินกว่า 4 ชั่วโมง ผู้เช่ารถจะต้องจัดคนขับรถไว้ 2 คน เพื่อคอยผลัดเปลี่ยนกันขับ แต่ถ้าหาก ไม่จำเป็นต้องมีคนขับรถเพียงคนเดียว จะต้องกำหนดจุดพัก ให้คนขับ ได้พักหลังขับรถ ติดต่อกัน 4 ชั่วโมง อย่างน้อยที่สุด ครึ่งชั่วโมง จึงจะสามารถขับ ต่อไปได้อีกไม่เกิน 4 ชั่วโมง

ข้อควรปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย ระหว่างเดินทาง

ตลอดระยะเวลาเดินทาง มีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ผู้โดยสารควรให้ความใส่ใจ ดู และ คอยหมั่นสังเกตการณ์ การทำงานของรถ ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนขับ จะต้องดูแลและอำนวยความสะดวก ให้คนขับสามารถได้อย่างปลอดภัยด้วย ไม่ควรเร่ง ให้ขับรถเร็วเพื่อให้ไปถึง จุดหมายปลายทางทันเวลา

ดูแลให้คนขับรถนอนหลับพักผ่อน อย่างเต็มที่จะได้ไม่ง่วงถึงขั้นหลับใน และ ในขณะขับรถ ให้หมั่นสังเกตอาการ ของคนขับ หากเห็นว่าอ่อนล้าหรือ มีอาการง่วง ให้เปลี่ยนคนขับหรือ ให้หยุดพักผ่อนในจุดพักรถที่ปลอดภัย อย่าชักชวนคนขับดื่มเหล้า อย่าเกรงใจ หากคนขับ ขับรถฝ่าฝืนกฎหมาย หรือ ขับรถประมาณเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ต้องบอกกล่าวตักเตือน ขอความร่วมมือ ให้ขับรถดี ๆ เพื่อความปลอดภัย ของทุกคนบนรถ ตลอดระยะเวลา การเดินทาง