logo plan travel dot com
Shareshare facebooktwitterline

พุชคาร์ Pushkar และ ดิวาลี Diwali

พุชคาร์ (Pushkar)

เป็นเมืองเล็กๆ ตั้งอยู่ในรัฐราชาสถาน ประเทศอินเดีย ห่างจากเมืองอัจเมอร์ ไปทางทิศตะวันออก เฉียงใต้ประมาณ 11 กิโลเมตร เมืองนี้ตั้งอยู่บนที่ราบสูง โอบล้อมด้วยภูเขา ทะเลสาบพุชคาร เป็นทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์ ของชาวฮินดู เชื่อกันว่าเกิดจาก หยาดน้ำตาของพระศิวะ ทะเลสาบแห่งนี้มีความยาวประมาณ 1.5 กิโลเมตร กว้าง ประมาณ 0.7 กิโลเมตร และลึกประมาณ 5 เมตร

ทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์ ของชาวฮินดู เป็นหนึ่งในเมืองเก่าแก่ ของอินเดีย อยู่ในรัฐราชาสถาน กลิ่นหอม ของดอก กุหลาบ พุชคาร์ ก็เป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลก

มีเรื่องเล่าว่า “พระพรหม เป็นผู้สร้างเมือง และ ทะเลสาบ พุชคาร์ เชื่อกันว่าเกิดจาก หยาดน้ำตาของพระศิวะ ดังนั้น ชาวฮินดูจึงเชื่อว่า ถ้าได้มาแสวงบุญและ อาบน้ำที่เมือง พุชคาร์นี้ จะหลุดพ้นจากสิ่งชั่วร้าย ” เหล่าผู้แสวงบุญจึง เดินทางมา เพื่อทำพิธีชำระบาป และ อธิษฐาน ขอความ สิริมงคลให้แก่ชีวิต

เมืองพุชคาร์เล็กๆแห่งนี้ อยู่ในจังหวัดอัจเมอร์ (Ajmer) ในแคว้นราชสถาน มีวัดล้อมรอบทะเลสาบมากกว่า 400 วัด หนึ่งในนั้นวัดพระพรหม หรือ วัดเทพเจ้าผู้สร้าง (Jagatpita Brahma Mandir) ซึ่งเป็นวัดเพียง แห่งเดียวในโลก ที่ อุทิศแด่พระพรหม เทพเจ้าผู้สร้างของศาสนาฮินดู วัดแห่งนี้สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 11 และได้รับการบูรณะใน ศตวรรษที่ 17 และมีขั้นบันได สำหรับลงไปอาบน้ำ ใน ทะเลสาบ มากถึง 52 ท่า และทะเลสาบถูกล้อมด้วยภูเขาอีกที จึงเป็นสถานที่น่าสนใจ ของนักท่องเที่ยว

เทศกาลที่สำคัญของเมืองพุชคาร์ คือ เทศกาลอูฐ เมืองพุชคาร์ (Pushkar Camel Fair) ซึ่งเป็นเทศกาล ประจำปี ที่ใหญ่ที่สุดในรัฐราชาสถาน เทศกาลนี้ จัดขึ้น ใน เดือนพฤศจิกายน หรือ ธันวาคมของทุกปี นอกจากวัดแล้ว พุชคาร์ยังมีสถานที่ท่องเที่ยว ทางวัฒนธรรมอื่นๆ เช่น ตลาดโบราณ พิพิธภัณฑ์ และหอดูดาวโบราณ นักท่องเที่ยว จากทั่วทุกมุมโลก เดินทางมาร่วมงานเทศกาลนี้ เพื่อชม การประกวดอูฐ ซื้อขายอูฐ และชมการแสดงพื้นบ้านต่างๆ

ภายในงานจะมีชาวอินเดีย ชนเผ่าต่างๆมาชุมนุมกัน และ ยังนำอูฐมากกว่า 20,000 ตัว มาประมูลซื้อขาย แสดง ความสามารถ ให้ได้ดูกัน  เทศกาลนี้ยังเป็น 1 ใน 10 เทศกาลที่โด่งดังติดอันดับโลกอีกด้วย

พุชคาร์ (Pushkar)

เทศกาลแห่งแสงไฟ ดิวาลี (Diwali)

เป็นงานเฉลิมฉลอง เทศกาลดิวาลี มักเฉลิมฉลอง กันยาวนาน 5 วัน วันขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดู รวมทั้งชาวซิกข์และเชนด้วย เริ่มต้นในวันแรม 13 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติของอินเดีย

ตามปฏิทินของชาวฮินดู เทศกาลดิวาลีจะอยู่ระหว่าง กลางเดือนตุลาคม – กลางเดือนพฤศจิกายน ซึ่งใน การจัดงานจะมีขึ้นทั่วประเทศอินเดีย แต่จะแตกต่างกัน ตามความเชื่อของแต่ละภูมิภาค

ช่วงเวลานี้จะ ประดับประดาบ้านเรือนด้วยโคมไฟและดอกไม้ มีการจุดประทัด และ ดอกไม้ไฟเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้าย

มีการแลกเปลี่ยนของขวัญ มีการเฉลิมฉลองด้วยการ เต้นรำ และ ร้องเพลง ดิวาลีถือเป็นช่วงเวลา แห่งความสุข และ ความอบอุ่น ของครอบครัว

ทั้ง 5 วัน มีชื่อเรียกต่างกันไป วันที่ 1 ธันธีระ (Dhanteras) วันที่ 2 โชตีดิวาลี / นรกจาตุรทศ (Chhoti Diwali / Narak Chaturdashi) วันที่ 3 ลักษมีบูชา / กาลีบูชา (Lakshmi Puja / Kali Puja) วันที่ 4 โควรรธนบูชา / บาลีประติปทา (Govardhan Puja / Balipratipada) และ วันที่ 5 ไภยฑูช (Bhai Dooj)

ช่วงเวลาที่จัดงานจะมีการ จุดตะเกียงดินเผาเล็ก ๆ ชื่อว่า Diyas (ออกเสียง ดิ-ยา) สวดบูชาพระนางลักษมี พระชายา ของพระศิวะ ซึ่งเป็นเทพเจ้า แห่งความมั่งคั่ง และ พระพิฆเนศ ซึ่งเชื่อว่า เป็นผู้ขจัดอุปสรรคต่างๆ ในชีวิตให้เรา นอกจากนั้น แล้วยังมีการประดับไฟ และตกแต่งด้วยดอกไม้ ตามสถานที่ต่างๆ ทั่วทั้งประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นเทศกาล ใหญ่มาก ของอินเดีย

นอกจากชาวฮินดูแล้ว ชาวซิกข์และชาวเชน ก็เฉลิมฉลอง เทศกาลดิวาลีเช่นกัน ชาวซิกข์เฉลิมฉลอง ดิวาลีเพื่อระลึกถึง ชัยชนะของพระเจ้าอรชุนเหนือศัตรู ชาวเชน เฉลิมฉลอง ดิวาลี เพื่อ ระลึกถึง การรู้แจ้งของพระมหาวีระ ตีรถังกรองค์ สุดท้าย ของศาสนาเชน

ดิวาลีเป็นเทศกาลที่ ได้รับความนิยม อย่างมาก ในอินเดีย และ ประเทศอื่นๆ ทั่วโลก เทศกาลนี้ ถือเป็นสัญลักษณ์ ของ ชัยชนะของความดีเหนือความชั่วร้าย ความสว่าง เหนือ ความมืดมิด และความสุขเหนือความทุกข์ยาก

ถ้าหากอยากสัมผัส การเฉลิมฉลอง แบบชาวอินเดีย ก็เชิญไปท่องเที่ยวกันได้

ดิวาลี (Diwali)