อาการเจ็ทแล็ก หรือ อาการเมาเวลา

เกิดจากการที่เรา ต้องเดินทางข้ามเขตแบ่งเวลา หลายๆเขตในการเดินทาง จากตะวันออก ไปทางตะวันตก หรือ ในทางกลับกัน ในระยะเวลาสั้นๆ ทำให้ ร่างกายของเรา ที่ยังคงคุ้นกับเวลาเดิมอยู่ปรับตัวไม่ทัน

ยกตัวอย่างเช่น เดินทางจาก กรุงเทพฯ ไป นิวยอร์ก ที่สหรัฐอเมริกาซึ่งอยู่ ทาง ตะวันตก ของเราไป 12 เขตแบ่ง เวลา และ มีเวลา ช้ากว่าเรา 12 ชั่วโมง เวลา เที่ยงคืน ที่นิวยอร์ก จะเป็นเวลาเที่ยงวัน ที่กรุงเทพฯ ร่างกาย ของเรา ที่ยังคุ้นเคย กับ เวลา ของเมืองไทยอยู่ ก็จะทำงาน ตาม เวลา ในเมืองไทย เราจึง ไม่รู้สึก ง่วงเลย พยายาม จะนอน ก็นอนไม่หลับ เพราะ ยังไม่ใช่ เวลานอน พอเวลา เที่ยง หรือบ่ายๆ ที่นิวยอร์ก เราก็จะง่วงนอน เสียนี่ (ก็มันเที่ยงคืนบ้านเราเข้าไปแล้ว)

ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะ ร่างกาย ของเราจะมี การทำงาน ที่เป็นไป ตามรอบ ของเวลา ในแต่ละวัน เหมือนกับ มีนาฬิกา อยู่ข้าง ในตัวเรา ข้อที่เป็น ปัญหา เวลาเดินทาง คือ เราไม่สามารถ จะตั้งเวลา ให้เจ้า นาฬิกา เรือนนี้ใหม่ ได้ง่ายๆ เหมือน ตั้งเวลา นาฬิกาข้อมือ

นาฬิกาภายในตัวเรา จะปรับตัว หรือ ตั้งเวลา ของมันใหม่ ตามสิ่งแวดล้อม และ เวลาที่ เปลี่ยนไป ได้เหมือนกัน แต่ต้องใช้เวลานาน คือ ข้ามเขตเวลาไปหนึ่งเขต จะต้อง ใช้เวลา ในการปรับตัว 1 วัน ถ้าเวลา ต่างกัน 12 เขต ก็ต้อง ใช้เวลา ประมาณ 12 วัน หรือ อย่างน้อยที่สุด ก็ประมาณ 1 สัปดาห์ ถึงจะ เข้าที่เข้าทาง

การเดินทาง โดยรถยนต์ หรือ รถไฟ มักไม่มีปัญหาเรื่องนี้ เพราะว่่า ร่างกาย มีเวลาค่อยๆ ปรับตัว อาการนี้จึงเป็น อาการ เฉพาะผู้เดินทาง โดยเครื่องบิน โดยแท้

ใครจะมีโอกาส เกิดอาการนี้ได้บ้าง

คำตอบคือ ทุกคน แต่เด็กๆ จะปรับตัวได้ดีกว่า เมื่ออายุมากขึ้น ก็จะปรับตัวได้ยากขึ้น เรื่อยๆ ไม่ว่าคุณจะ เดินทางชั้นหนึ่ง หรือชั้นประหยัด ก็มีสิทธิ มีอาการ ได้เท่าเทียมกัน แต่จะเป็น เฉพาะ การเดินทางไป ทางตะวันตก หรือ ตะวันออก ที่ต้อง มีการเปลี่ยนเวลา มากๆเท่านั้น และ มักจะเป็นน้อยกว่า ถ้าบินจากตะวันออกไป ตะวันตก เช่น บินจากไทยไปอังกฤษ จะมีอาการ น้อยกว่า จากอังกฤษมาไทย เป็นต้น.

วิธีผ่อนหนักให้เป็นเบา มีอยู่หลาย วิธี หลักสำคัญคือ การพยายาม ช่วยให้นาฬิกาในตัวเรา ปรับตัวได้เร็วขึ้น ด้วยวิธีต่างๆดังนี้

เมาเวลา
  1. เตรียม ปรับเวลาล่วงหน้า ตั้งแต่ก่อน ออกเดินทาง (ถ้าทำได้) โดยค่อยๆ เลื่อนเวลาเข้าและ ตื่นนอน ให้เร็วขึ้น หรือ ช้าลง ตามเวลาใหม่ ของที่ๆ เราจะไป วันละ 1 ชั่วโมง จะได้ เมาน้อยลง แต่อาจจะปฏิบัติยาก สักหน่อย
  2. นอนและ พักผ่อนให้เพียงพอก่อนเดินทาง
  3. ตั้งนาฬิกา ตามเวลาของจุดหมาย ปลายทาง ทันที ที่ขึ้นเครื่องบิน แล้ว พยายามทำตัว ตามเวลาใหม่ ตั้งแต่ อยู่บนเครื่องบิน พยายามนอน ตาม เวลาที่ควรนอน ตื่นตามเวลา ที่ควรตื่น และ กินอาหารตามเวลา ที่ควรกิน ถ้าเป็นไปได้ควร เลือก เที่ยวบินที่ เวลา ที่เราอยู่บนเครื่องบิน เป็นเวลากลางวัน ของจุดหมาย ปลายทาง และ พยายามไม่นอน บนเครื่องเลย หรือ อาจจะนอน ได้สั้นๆ 1-2 ชั่วโมง
  4. ดื่มน้ำมากๆ เนื่องจาก อากาศ บนเครื่องบิน จะแห้ง กว่าปกติ ทำให้ร่างกายขาดน้ำ ซึ่งจะทำให้มี อาการเจ็ทแล็ก ได้มากขึ้น งด เครื่องดื่ม ที่มีแอลกอฮอล์ และ ชา กาแฟ
  5. ใส่เสื้อผ้าและ รองเท้าที่ใส่สบายๆ พยายาม ลุกขึ้น ยืดเส้นยืดสาย หรือเดินไปมาบ้าง
  6. เมื่อไปถึง จุดหมายปลายทาง พยายามทำตัว ตามเวลาท้องถิ่น ให้มากที่สุด
  7. ถ้าเป็นเวลา กลางวันให้ออกไป อยู่กลางแจ้ง ให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ เพราะ การได้รับ แสงแดดจัดๆ จะช่วยให้นาฬิกา ในตัวเรา ปรับตัวได้เร็วขึ้น
  8. ออกกำลังกาย หรือเดินมากๆตลอดวัน จะช่วย ไม่ให้ง่วง ตอนกลางวัน และ หลับง่ายขึ้น ในตอนกลางคืน
  9. ถ้าจำเป็น อาจจะใช้ยานอนหลับในวันสองวันแรก เพื่อช่วยให้ หลับได้ตามเวลา
  10. พยายาม จัดเวลาเดินทาง ทั้งขาไปและกลับ ให้ร่างกายมีเวลา พัก และ ปรับตัวอย่างน้อย 1 วัน ก่อนเริ่มทำงาน
พักผ่อนให้เพียงพอ

วิธีแก้อาการเมาเวลา หรือ เจ็ทแล็กนี้ ยังมีอีก มากมาย หลายวิธี จน มีคนเขียนเป็น หนังสือ ขายได้เป็นเล่มๆ และ บริษัทยา ผลิตยา ป้องกัน อาการ Jet Lag นี้ออกมาขาย กันมากมาย ท่านใดที่ต้องเดินทาง โดยเครื่องบิน ไม่ว่าใกล้ หรือไกล ก็ลองนำ วีธีที่แนะนำ ไปใช้ดูนะคะ ได้ผลหรือ ไม่ได้ผลอย่างไร บอกกัน ให้ทราบบ้างนะคะ

 

FacebookTwitterLine
วีซ่าเนเธอร์แลนด์

วีซ่าเนเธอร์แลนด์

เอกสารขอวีซ่าอังกฤษ

เอกสารขอวีซ่าอังกฤษ

ยื่นวีซ่าสวีเดน

เอกสารยื่นวีซ่าสวีเดน

ประกันภัยศึกษาต่อต่างประเทศ

ประกันภัยศึกษาต่อต่างประเทศ

ไอร์แลนด์ หรือไอซ์แลนด์

ไปไอร์แลนด์ หรือไอซ์แลนด์

ปลั๊กและกระแสไฟในต่างประเทศ World Plugs

ปลั๊กและกระแสไฟ World Plugs

วางแผนก่อนเดินทาง

วางแผนก่อนท่องเที่ยว

ยื่นวีซ่าเม็กซิโก

ยื่นวีซ่าเม็กซิโก