ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผาชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์
เนื่องจากจังหวัดเชียงใหม่ เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ และ มีสถานที่ท่องเที่ยว หลากหลายมากมาย ทั้งในตัวเมือง เชียงใหม่ และ อำเภอต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สถานที่ท่องเที่ยวตาม ธรรมชาติ เช่นภูเขา ถ้ำ น้ำตก หรือ สถานที่ท่องเที่ยว ที่ถูกสร้างขึ้น รวมถึงวัดวาอาราม โบราณสถานต่างๆ
ความที่มี ที่เที่ยว มากมาย เหลือคณานับ ทั่วทุกทิศ ของเชียงใหม่ ก็เลยจะเขียนบอก เป็นเส้นทางๆไป สนใจอะไร จะเลือกเที่ยวที่ไหน วางแผนดูแพลนแผนที่ให้ดี ไม่มีหลง ตกลงกันให้เรียบร้อย ค่อยเดินทาง
เริ่มกันจากในตัวเมืองเชียงใหม่ แล้วค่อยออกไปเที่ยว ตามอำเภอต่างๆไกลใกล้ตามชอบใจ วัดเป็นสถานที่หนึ่ง ที่จะบอกเราได้ว่าในอดีต บ้านนั้น เมืองนั้น เคยมีความเจริญรุ่งเรืองเพียงใด เฉพาะใน เขตคูเมืองเชียงใหม่ ก็น่าจะมีมากกว่า 10 วัด คูเมืองเชียงใหม่ เป็นคูเมืองที่ขุดขึ้น ล้อมพระนคร สมัยสร้างเมืองเชียงใหม่ กว้าง 800 วา ยาว 1000 วา ซึ่งใครไป ใครมา เชียงใหม่ก็อาจจะเป็นงง กับถนนรอบคูเมืองอยู่บ้าง ขับรถวนไปวนมา หาทางเข้าทางออกไม่เจอ ก็หน้าตามันเหมือนๆกัน เรื่องนี้ค่อยไปพูดถึง ในเรื่องการเดินทาง ตอนนี้เราไปเที่ยววัดในเมืองเชียงใหม่กันก่อน
- วัดเชียงมั่น ถนนราชภาคินัย
สร้างขึ้นในสมัย พ่อขุนเม็งราย เมื่อสร้างเมืองเชียงใหม่ เป็นวัดแห่งแรก ของ เชียงใหม่ ภายในวัดเชียงมั่น เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป เสตังคมณี หรือ พระแก้วขาว เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่พ่อขุนเม็งราย ได้อัญเชิญมาจาก หริภุญชัย สมัยพระนางจามเทวี
- วัดเจดีย์หลวง ถนนพระปกเกล้า
สร้างในสมัย พระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์เม็งราย เมื่อพ.ศ.1944 แต่ยังไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากสวรรคตเสียก่อน กษัตริย์องค์ ต่อมาคือ พระเจ้าสามฝั่งแกน ทรงโปรดฯให้สร้างต่อ จนเสร็จ และ ในสมัย พระเจ้าติโลกราช ทรงโปรดฯให้ขยายฐาน และ ความสูง ของเจดีย์ ให้กว้าง และสูงขึ้น แต่ที่ปัจจุบันเราเห็นยอดเจดีย์ ครึ่งเดียว เนื่องจากในพ.ศ.2088 ได้เกิดแผ่นดินไหว ทำให้ยอดเจดีย์หกโค่นลงมา และ ไม่ได้รับการบูรณะ ซ่อมแซม จนถึงสมัย เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าเมืององค์สุดท้าย ของเชียงใหม่ โปรดให้บูรณะเฉพาะวัด
องค์เจดีย์ไม่ได้รับการบูรณะแต่อย่างใด นอกจาก วัดเจดีย์หลวง จะเป็นวัดที่มี เจดีย์องค์ใหญ่แล้ว ภายในบริเวณวัด ยังเป็นที่ประดิษฐาน เสาหลักเมือง หรือ เสาอินทขิล เป็นเสาหลักเมือง เมื่อครั้งพ่อขุนเม็งราย ทรงสร้างเมืองเชียงใหม่
- วัดพันเตา ถนนพระปกเกล้า
วัดพันเตา อยู่ติดกับ วัดเจดีย์หลวง ชื่อของวัดน่าจะเพี้ยนมาจาก วัดพันเท่า หรือ วัดปันเต้า ตามสำเนียงคนเมือง สร้างในสมัย พระแก้วเมือง สิ่งที่น่าสนใจ ภายในวัดพันเตาคือ วิหารวัดพันเตา ที่งดงาม ที่คงรักษา เอกลักษณ์ ของล้านนาไว้ได้มากที่สุด ถึงแม้ว่าได้รับการบูรณะ ซ่อมแซมไปแล้วก็ตามที ที่แต่เดิมเป็นหอคำ
หรือ ที่ประทับ ของ เจ้ามโหตรประเทศ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ซึ่งต่อมา ในสมัย เจ้าอินทวิชยานนท์ ทรงยกหอคำ ของ เจ้ามโหตรประเทศถวาย แก่วัดพันเตา เป็นวิหารไม้สักทอง ที่แกะสลัก ลวดลาย ต่างๆ ประดับกระจกสี อย่างงดงาม องค์ประดับหลังคา คล้ายกับทั่วไป คือ มีช่อฟ้า รวยระกา หางหงส์ ที่เป็นเครื่องไม้แกะสลัก ประดับกระจก
ที่สันหลังคา ประดับด้วยหงส์โลหะ สีเงินเครื่องประดับหลังคา คล้ายกับทั่วไป คือ มีช่อฟ้า รวยระกา หางหงส์ ที่เป็น เครื่องไม้แกะสลักประดับ (หลุดไปเกือบหมดแล้ว) ประดับด้วยหงส์ โลหะสีเงินระดับหลังคา คล้ายกับทั่วไป คือ มีช่อฟ้า รวยระกา หางหงส์ ที่เป็นเครื่องไม้แกะสลัก ประดับกระจก (หลุดไปเกือบหมดแล้ว) ที่สันหลังคา ประดับด้วยหงส์โลหะสีเงิน
- วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ถนนสามล้าน
วัดพระสิงห์ เดิมเรียกวัดลีเชียง เป็น พระอารามหลวง ของเชียงใหม่ สร้างขึ้นในสมัย พระเจ้าผายู กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์เม็งราย
ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธสิหิงค์ อยู่ในวิหารลายคำ ที่เป็น สถาปัตยกรรม แบบล้านนา ที่งดงาม และ ภายในวิหารลายคำ ยังมี ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ที่งดงาม ทรงคุณค่า ให้ศึกษา
ประวัติที่มาของ พระพุทธสิหิงค์ กล่าวว่าถูกนำมาประดิษฐานที่ วัดพระสิงห์ใน สมัยพระเจ้าแสนเมืองมา แต่บ้างก็ว่านำมาจากเมืองเชียงราย บ้างก็ว่า นำมาจาก เมืองกำแพงเพชร นอกจากวิหารลายคำแล้ว พระอุโบสถ หอไตรแบบล้านนา
และ พระเจดีย์ทรงกลม แบบล้านนา ก็ป็นสถาปัตยกรรม ที่ทรงคุณค่า แก่การชม และ ศึกษา และ ถือว่า วัดพระสิงห์ฯ เป็นวัดประจำปีเกิด ของผู้ที่เกิดปีงูใหญ่ หรือ ปีมะโรง
- วัดสวนดอก ถนนสุเทพ
วัดสวนดอก หรือ วัดบุปผารามเป็นวัดที่สร้างขึ้นภายในบริเวณสวนดอกไม้ ในสมัยพระเจ้ากือนา เมื่อพ.ศ.1914 โปรดฯให้สร้าง พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และ ครูบาศรีวิชัย ได้สร้างพระวิหาร รูปทรงแปลกกว่า วิหารทั่วไปคือ เปิดโล่งทั้ง 4 ด้าน ประดิษฐานพระเจ้าเก้าตื้อ หนักพันชั่ง ( ตื้อ เป็นคำเมือง หมายถึง พันชั่ง ) นอกจากนั้น ภายในวัด ยังเป็นที่ตั้ง กู่บรรจุอัฐิของเจ้านายตระกูล ณ เชียงใหม่
- วัดอุโมงค์ ถนนสุเทพ
สันนิษฐานว่า วัดอุโมงค์สร้างขึ้นในสมัย พ่อขุนเม็งราย เพื่อเป็นอนุสรณ์ ในการนำ พุทธศาสนาแบบ ลังกาวงศ์มาประดิษฐานในล้านนา โปรดฯให้สร้าง พระเจดีย์แบบลังกาตามแบบฉบับ พระเจดีย์ที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นองค์เดียว กับองค์ที่พ่อขุนเม็งรายทรงสร้าง แต่ได้รับการบูรณะในสมัยพระเจ้ากือนา โดยพอกปูนทับ องค์เจดีย์เดิมให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
วัดอุโมงค์หรือเรียกอีกชื่อว่า สวนพุทธธรรม เป็นที่อยู่ของภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา และ ผู้แสวงหาความสงบ ภายในบริเวณวัดร่มรื่นด้วยป่าไผ่ และ ต้นไม้ใหญ่ ว่ากันว่าต้นไม้ที่วัดอุโมงค์พูดได้ ต้นไม้พูดได้อย่างไร ใครอยากรู้ก็ต้องตามไปดู
- วัดกู่เต้า ถนนช้างเผือก
วัดกู่เต้าสร้างขึ้นสมัยใดไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด แต่ถ้าดูจากเจดีย์ และ พระวิหารแล้ว น่าจะสร้างในสมัยที่ เชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นพม่า เนื่องจาก ยังคงมีหลักฐานศิลปะ พม่า ปรากฎอยู่ ที่ยอดเจดีย์ ทรงกลม คล้ายผลแตงโม ซ้อนกัน 5 ชั้น
คือ ฉัตรยอดเจดีย์แบบพม่า พระประธานในวิหาร ก็ยังเป็นพระพุทธรูป ทรงเครื่องแบบพม่า อีกเช่นกัน และ จากหลักฐานพงศาวดารพม่ากล่าวว่า
ปี พ.ศ.2156 พระมหาราชามังชวยเทา โปรดฯให้สร้างเจดีย์กู่เต้าขึ้น เพื่อบรรจุพระอัฐิ และ พระอังคาร ของพระเจ้าเม็งชานรธามังดุย (หลังจาก พ่ายต่อ สมเด็จพระนเรศวรฯ พระเจ้าเม็งชานรธามังดุยประทับอยู่ที่ นครเชียงใหม่ จนสิ้นพระชนม์) วัดกู่เต้า มีชื่อเป็นทางการว่า วัดเวฬุวนาราม
- วัดเจ็ดยอด ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่-ลำปาง
สร้างขึ้นใน สมัยพระเจ้าติโลกราช มหาวิหารของวัดเจ็ดยอด เป็นสถานที่ ที่พระเจ้าติโลกราช โปรดให้ใช้เป็นสถานที่ประชุม พระเถรานุเถระทั่วอาณาจักรล้านนา
เมื่อครั้ง พระองค์ประธานฝ่ายคฤหัสถ์ ทำสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งแรก ในประเทศไทย นับเป็นครั้งที่ 8 ของการสังคายนาพระไตรปิฏก เป็น วิหารก่อด้วย ศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านนอกประดับลายปูนปั้น รูปเทพพนมที่งดงาม ด้านบนเป็นยอดเจดีย์ แบบพุทธคยา ในประเทศอินเดีย และ ที่วัดเจ็ดยอดแห่งนี้ พระเจ้าติโลกราชทรงนำหน่อมหาโพธิ์ ที่ได้มาจาก ลังกา ปลูกไว้ภายในบริเวณวัด วัดเจ็ดยอดจึงมีอีกชื่อว่า วัดมหาโพธาราม หรือ วัดโพธารามมหาวิหาร
พระสถูปเจดีย์ บรรจุพระอัฐิ พระเจ้าติโลกราช ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดเจ็ดยอด ผู้คนนับถือกันว่า วัดเจ็ดยอด เป็นวัดประจำปีเกิด ผู้ที่เกิดปีงูเล็ก หรือปีมะเส็ง
- วัดแสนฝาง
ถนนช้างม่อย ตัดใหม่ บริเวณถนนท่าแพ สร้างเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่ได้รับอิทธิพล จาก พม่าดูจากเจดีย์ที่เป็นทรงระฆังศิลปะพม่า ฐานเจดีย์ย่อมุม ประดับด้วยเจดีย์องค์เล็กๆ องค์เจดีย์ประธาน สีทอง ลักษณะคล้ายกับ เจดีย์ชเวดากองของพม่า ตามมุมทั้ง 4 มีรูปปูนปั้น รูปสิงห์ ตั้งอยู่ และ พระวิหาร ของ วัดแสนฝางก็มี ความงดงามไม่แพ้กัน
- อนุสาวรีย์สามกษัตริย์
ประดิษฐานอยู่ที่หน้า ศาลากลางเก่า บริเวณสี่แยก ถนนพะ เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ ที่ชาวเชียงใหม่ร่วมใจกัน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2526 เป็นรูปปั้นเท่าตัวจริง ของ กษัตริย์ร่วมน้ำสาบาน 3 พระองค์ถ้าหันหน้าเข้าหาอนุสาวรีย์ ตรงกลางคือ พ่อขุนเม็งราย ซ้ายมือคือ พ่อขุนงำเมือง และพ่อขุนรามคำแหงฯ อยู่ด้านขวามือ